วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 16 (07ตุลาคม2553)

สวัสดีคะอาจารย์วันนี้เป็นวันสอบปลายภาคนอกตาราง ก่อนสอบอาจารย์ให้ส่งแบบประเมิณที่ให้ไปทำมาและอาจารย์ให้คนที่ไม่ทำมาส่งเขียนชื่อไว้และถามถึงเหตุผลต่างๆว่าทำไมไม่ทำมาส่ง และให้นักษาตรวจเช็คงานของตนเองว่ายังมีชิ้นไหนที่ยังไม่เสร็จให้รีบนำมาส่ง พร้อมทั้งกำหนดวันตรวจ blogger ในวันพฤหัสบด ที่ 14 ตุลาคม 2553 ในวันนี้ดิฉันก็ทำข้อสอบของอาจารย์ไกอบทุกข้อ และก็เกือบจะทำไม่ทัน แต่ทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 (30 กันยายน2553)

สวัสดีคะวันนี้อาจารย์ให้นำกระดาษลังมาคนละ 1 แผ่น แต่ก็ไม่มีใครทราบว่าอาจารย์ให้นำกระดาษลังมาทำอะไร อาจารย์ก็ไถมว่า ถ้าให้ทำสื่อจากกระดาษลังแผ่นนี้นักศึกษาจะผลิตสื่ออะไร ในคณะเดียวกันอาจารย์ยังสอนให้เราเป็นคนตัดสินใจที่เร็วเพราะเนื่องจากอาจารย์ให้เวลาคิดไม่ถึงนาที ดิฉันได้บอกกับอาจารย์ว่าดิฉันจะทำหุ่นเชิด อาจารย์ได้บอกว่าไม่ว่าสิ่งใดก็สามารถนำมาเป็นสื่อได้ทั้งหมดอยู่ที่เราจะออกแบบและทำให้สอดคล้องกับหน่วยที่เราจะสอน และพอเพื่อนๆบอกอาจารย์ครบทุกคนแล้ว อาจารย์ให้แต่ละคนทำป้ายนิเทศที่ตัวเองอยาก และให้ว่าจะทำหน่วยอะไร ดิฉันได้ทำหน่วยตัวเลข เพื่อให้เด็กทบทวนตวเลข อาจารย์ได้นำสิ่งของที่จะตกแต่งมาให้และให้แบ่งกันใช้ และอาจารย์ให้ทำส่งในชั่งโมงเรียน แต่ดิฉันทำเสร็จหลังจึงฝากเพื่อนรวบรวมไปส่ง ก่อนจะทำงานอาจารย์ให้ทำแบบประเมิณอาจารย์ และให้กลับไปเขียนเหตุผลที่ประเมิณอาจารย์ในหัวข้อต่างๆมาส่งวันสอบ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 (23 กันยายน 2553)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆที่แสนจะน่ารักทุกๆคน วันนี้มาสายเพราะฝนตก และในวันนี้อาจารย์ให้นำเสนอสิ่งที่จะนำมาเล่นกับแป้งโดว์โดยจะต้องเป็นสิ่งของเหลือใช้ และอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำว่าการที่เราจะนำอะไรมาให้เด็กเล่นเราควรคำนึงถึงตัวเด็กว่าเด็กจะมีความปลอดภัยหรือไม่ เด็กเล่นแล้วได้ประโยชน์อะไร ของที่เราจะนำมาเป็นของเล่นนั้นควรจะเป็นสิ่งที่เหลือใช้และหาได้ง่าย มีการประดิษฐ์ที่มีความหลากหลายและดึงดูดความสนใจ การที่เรานำสิ่งของที่เหลือใช้มาประดิษฐ์นั้นจะทำให้ผู้เป็นครูนั้นมีความประหยัดเรื่องค่าใช้จ่าย นำสิ่งของที่ไร่ค่ามาเพิ่มมูลค่าทางการเล่นให้กับเด็กและเด็กๆจะได้เห็นถึงคุณค่าของสิ่งเที่หลือใช้ยังสามารถกลับมาใช้ได้อีก กลุ่มของดิฉันอาจารย์ได้ให้คำแนะนำว่าควรหาสิ่งของมาให้เด็กได้เลือกเล่นมากกว่านี้ และควรแกะฉลากที่ติดอยู่ออก และใช้ความคิดสร้างสรรค์ทำรวดลายเพื่อเด็กจะได้นำสิ่งของชิ้นเดียวแต่เล่นได้หลายรูปแบบ เมื่ออาจารย์ตรวจงานเสร็จอาจารย์ได้เข้าไปดูถึงความคืบหน้าของงานแต่ละคน อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเปิดดูแผนการสอนและบันทึกให้สอดคล้องกับแผนการสอนและให้ไปแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 (16 กันยายน 2553)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกๆคนนะคะ ในวันนี้อาจารย์ได้นัดมาเรียนตอนบ่ายโมงตรง อาจารย์ได้ให้นำอุปกรณ์มาทำแป้งโดว์ แต่ก็มาปัญหานิดหน่อยเพราะเพื่อนบางกลุ่มก็ไม่ทราบว่าอาจารย์ได้ให้นำอุปกรณ์มาทำ แต่เราก็สามารถแก้ปัญหาได้ การที่เราได้ทำแป้งโดว์นั้นทำให้เด็กได้ประโยชน์หลายอย่าง
1.เป็นสื่อที่เด็กเล่นแล้วไม่ได้รับอันตรายจากสารเคมี
2.ทำให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
และครูได้ประโยชน์คือ
1.ประหยัดค่าใช้จ่าย
2.ใช้วัสดุที่เหลือใช้ให้มีค่าเป็นต้น
วิธีการทำแป้งโดว์


ส่วนผสม
1. เกลือ 1 ถ้วย 2. น้ำเปล่า 3.5-4 ถ้วย
3. แป้งอเนกประสงค์ 4 ถ้วย 4. ครีมออฟทาร์ทาร์ 1/2 ถ้วย
5. น้ำมันพืช 4 ช้อนโต๊ะ 6. กลิ่นมะลิ 1 ช้อนโต๊ะ
7. สีผสมอาหาร

ขั้นตอนการทำ
1. ใส่เกลือ และ น้ำในกระทะ แล้วเปิดไฟอ่อนๆ
2. คอยคนเกลือ พอเริ่มละลาย รินปิดไฟก่อนค่ะ แล้วหันไปตวงแป้ง แล้วเทลงไป ค่อยเททีละถ้วย แล้วคนพอเข้ากันจึงใส่ถ้วยใหม่ค่ะ (ยังไม่ได้ติดไฟนะคะ)
3. แล้วจึงเติมครีมออฟทาร์ทาร์ลงไป คนให้เข้ากัน แล้วจุดไฟใหม่ค่ะ
4. ใส่น้ำมันพืชตามลงไป และก็กลิ่น คอยกวนตลอด ระวังเรื่องติดกระทะ ประมาณ 5-8 นาทีได้มั๊งคะ พลิกกลับไปกลับมา ใช้ตะหลิว 2 อันจะได้คอยช่วยแซะ กระทะใบใหญ่ก็ดีตรงเกลี่ยแป้งให้โดนความร้อนได้ง่ายค่ะ แต่ขอบอกว่าเมื่อยมือมากค่ะ ดีนะที่ย่อสูตรครึ่งเดียว ไม่งั้นกวนแล้วจะเมื่อยกว่านี้ แหะๆ
5. แป้งจะเริ่มจับตัวเป็นก้อน และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองๆ รินทำแค่ให้พอสุกนะคะ แต่ยังไม่สุกดี ลองสังเกตแล้วเดาๆเอาดูค่ะ เพราะรินก็เดาๆเอาว่าน่าจะพอแล้วก็ปิดไฟเลย
6. เอามาทิ้งไว้ในภาชนะด้านนอกซักแป๊บนึงค่ะ แป้งมันจะระอุและสุกขึ้นมาอิกนิด (ถึงได้ไม่กวนให้สุกมากบนเตา) ระวังอย่าให้โดนลมนะคะ
7. พอเริ่มเย็น ก็เอามานวดๆค่ะ แบ่งแป้งเป็นส่วนๆ แล้วหยดสีผสมอาหารลงไป แนะนำให้ค่อยๆหยดทีละนิดนะคะ ไม่ต้องหยดเยอะค่ะ เพราะแค่นิดเดียวสีก็สวยแล้ว ใส่มากๆ แป้งเหลวไปด้วยค่ะ

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12(9กันยายน 2553)

สวัสดีค่ะอาจารย์และเพื่อนๆที่น่ารักทุกคนวันนี้อาจารย์นัดสอบเก็บคะแนน ดิฉันตื่นเต้นมากเพราะดิฉันไม่รู้ข้อสอบ อาจารย์ให้เข้าสอบตอน 09:00 น.และในตอนเที่ยง อาจารย์นัดพบเรื่องไปสามเสน และในตอนบ่ายดิฉันก็ได้ไปหอประชุมแต่อาจารย์ไม่ได้บังคับ ถ้าใครไป อาจารย์บอกว่าซื้อใจอาจารย์ไปเลย และดิฉันก็ได้ซื้อใจอาจารย์ด้วยนะคะเพราะดิฉันไป แต่ดิฉันก็ไม่ทันได้ดูปอ เพราะในหอประชุมไม่มีที่นั่ง

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 (2สิงหาคม 2553)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกๆคน ในวันนี้ได้เรียนรวมกัน 2 กลุ่ม แล้ววันนี้ก็เป็นวันที่อาจารย์ได้นำเกมมาให้เล่นเพื่อที่จะให้เป็นแนวทางในการทำสื่อเกมการศึกษา จากการที่ดิฉันนั้นได้เล่นเกมการศึกษานั้นทำให้ดิฉันได้ประโยชน์จากการเล่นคือ
1.เป็นแนวทางในการทำสื่อ
2.มีความรู้เพิ่มจากเดิมว่าเกมนนั้นมาหลากหลายรูปแบบ และมีวิธีเล่นต่างกันและแต่ละเกมก็ทำให้เด็กได้ทักษะที่ต่างกัน
3. ทำให้เรารู้เทคนิคในการทำเกม
และอาจารย์สั่งให้ทำเกมการศึกษาตามที่ได้นำเสนออาจารย์ไว้มาส่งในอาทตย์หน้า และอาจารย์ยังได้เช็คงานที่สั่งไป มีทั้งหมดอยู่ 3 ชิ้นคือ
1.งานที่อาจารย์ให้ตัดกระดาษ 3 ชิ้น
2.งานกลุ่มที่อาจารย์ให้ส่งทั้งเป็นเดียวและเป็นของกลุ่ม
2.งานภาพเคลื่อนไหว
ในวันนี้ดิฉันทำงานมาส่งอาจารย์ครบตามที่อาจารย์สั่ง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 (26สิงหาคม 2553)

วันนี้อาจารย์ไม่ได้สอนเนื่องจากอาจารย์ไปรับเสด็จ แต่อาจารย์ก็ได้สั่งงานไว้ ให้กลับไปทำงานทุกอย่างให้เสร็จและนำมาส่งในอาทิตย์หน้า

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 (19 สิงหาคม 2553)

สวัสดีคะอาจารย์และสวัสดีเพื่อนๆทุกคน วันนี้อาจารย์ได้สอนการทำสื่อจากการพับกระดาษ โดยมีวิธีการพับ 3 แบบ และให้นักศึกษากลับไปทำมาส่ง โดยใช้ความคิดของตัวเอง พร้อมทั้งทำงานของเก่าให้เสร็จและส่งพร้อมกันในสัปดาห์หน้า

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 (5 สิงหาคม 2553)

วันนี้เป็นสัปดาห์การสอบ จึงไม่มีการเรียนการสอนคะ

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7( 29 กรกฏาคม 2553)

สวัสดีคะอาจารย์ผู้สอนที่เคารพ วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ ความหมายเกมการศึกษา ว่าเด็กจะเกิดทักษะจากการได้เล่นเกมการศึกษาที่มีคุณภาพ และในวันนี้ดิฉันไึด้นำเกมการศึกษาที่ได้ไปร่างโครงสร้างมาให้อาจารย์ได้ดู เกมการศึกษาของดิฉันคือ เกมจิกซอส์
ชื่อเกม บ้านหรรษา






วัตถุประสงค์ในการทำเกมนี้ขึ้นมาเพื่อ
1) เพื่อให้เด็กได้ทบทวนตัวเลข
2) เพื่อให้เด็กมีคุณธรรมจริยธรรม(ในการเล่นของเล่นแล้วเก็บของเข้าไว้ในกล่อง)
3) เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะในกระบวนการจำและเป็นคนชังสังเกต
4) เพื่อให้เด็กฝึกประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

คุณค่าที่เด็กได้รับจากการเล่นเกม
1) เด็กได้มีความเข้าใจตามหน่วยที่ครูสอน
2) ฝึกเด็กให้เป็นคนสังเกต
3) พัฒนาการใช้ประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
4) เด็กได้รับคุณธรรมจริยธรรมจากการเล่น

เนื้อหา
อยู่ในหน่วยของตัวเลขการนับเลข

อุปกรณ์ในการทำ
1) กระดาษลัง 2) กาว
3) กรรไกร ,มีดคัดเตอร์ 4) กระดาษสี
5) ไม้บรรทัด 6) เท็ปใส

วิธีทำ
1) ตัดกระดาษลัง 6 แผ่น
โดย มีความกว้าง X ยาว (40X40)2แผ่นคือส่วนหลังคา, (30X40) 2แผ่นคือส่วนผนังบ้านด้านข้าง,(30X30) 2แผ่นคือส่วนผนังบ้านด้านหน้าและหลัง
2) นำกระดาษสีมาทากาวแล้วทาติดกับกระดาษลังทั้ง6 แผ่น
3) เจาะรูปหลังคาด้านบนและด้านล่างให้อยู่ตรงกลางยาวประมาณ10 ซ.ม.เพื่อที่จะเป็นที่ต่อของผนังบ้าน
4) เจาะรูปของผนังบ้านด้านข้างทั้ง2ข้างยาว10ซ.ม.
5) เจาะรูปผนังบ้านด้านบนและล่างทั้ง2ข้างยาว10ซ.ม.
6) ตัดตัวเลขที่เขียนตามกระดาษเพือที่จะให้ต่อเป็นจิกซอส์

ข้อเสนอแนะจากอาจารย์
อาจารย์บอกว่าเป็นไอเดียร์ที่ดี แต่มันจะยากไปไหมสำหรับเด็กเพราะอาจารย์กลัวเด็กจะสับสนในการต่อบ้าน แต่ดิฉันก้อได้อธิบายว่า หลังคาและผนังบ้านเราจะทำคนละสีและแต่ละส่วนจะมีรูปที่เจาะวางไว้อย่างลงตัว ถ้าเด็กต่อผิดก้อจะต่อไม่ได้ และอาจารย์ก้อยังห่วงเรื่องของการแข็งแรงคงทนของสื่อเพราะถ้าสิ่งที่ยากเด็กจะเล่นอย่างรุนแรง อาจารย์จึงให้ทำด้วยอุปกรณ์ที่คงทน

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6 (22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553)

สวัสดีคะอาจารย์ผู้สอนที่เคารพและเพื่อนๆทุกๆคนนะคะ วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากกลับบ้านไปทำบุญวันเข้าพรรษาที่ต่างจังหวัด จึงได้ถามนางสาววรรณวิษาว่าเรียนอะไรบ้างในวันนี้ จึงได้ความว่า อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับสื่อและเกมการศึกษา ว่ามีอะไรบ้าง
สิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลาง นำความรู้จากครูสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมาย นั้นก็คือสื่อ
ความสำคัญ
ทำให้ให้สิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ได้รับประโยชน์ตรง รวดเร้วเพลิดเพลิน เข้าใจง่าย
ลักษณะของสื่อทีดี
1) ต้องมีความปลอดภัยแก่เด็ก ประหยัด ประโยชน์ที่เด็กได้รับเหมาะสมกับความสามารถของเด็ก
การประเมินการใช้สื่อ พิจารณาจากครูผู้ใช้สื่อ เด็กและสื่อ
1)สื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงใด
2)เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด
3)สื่อช่วยให้เด็กสนใจมากน้อยเพียงใด
เกมการศึกษา
การเล่นที่ใช้ความคิดทำให้เกิดการเรียนรู้
ตัวอย่างเกมการศึกษา
โนมิโน่ จิกซอ ความสัมพันธ์ 2 แกน เกมส์พื้นฐานการบวก หารายละเอียดของภาพ เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5 (15 กรกฎาคม 2553)

สวัสดีค่ะอาจารย์ผู้สอนที่เคารพ วันนี้อาจารย์ได้เปลี่ยนเวลาเรียนทำให้ดิฉันมาสายเพราะไม่ทราบการเปลี่ยนเวลา และวันนี้ดิฉันจะต้องออกมาเสนอสื่อที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย โดยวันนี้ดิฉันเสนอสื่อ จับกลุ่มภาพ สื่อนี้เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี มีขั้นตอนการทำดังนี้
1)ตัดกระดาษแข็งขนาด 5X5 เซนติเมตร ประมาณ 90 แผ่น
2)วาดรูปผลไม้ที่เหมือนกันลงในกระดาษ A4 1 รูป จำนวน 10 แผ่น วาดรูปผลไม้ 2 รูป จำนวน 10 แผ่น วาดไปเลยๆจนถึง 9 รูป จำนวน 10 แผ่น
3)นำรูปมาติดกับกระดาษแข็งตามกลุ่ม จะได้ทั้งหมด 9 กลุ่มๆละ 10 แผ่น
วิธีการเล่น
1)ให้เด็กได้สังเกตภาพตามกลุ่มต่างๆ
2)นำภาพทั้งหมดมาผสมคนให้เข้ากัน
3)ให้เด็กแยกภาพตามกลุ่มเหมือนเดิม
วัตถประสงค์
1)เพื่อฝึกการจำแนกสายตา
2)เพื่อฝึกประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
ประเภทของเกม
เกมจัคู่
เนื้อหาของเกม
เกมนี้อยู่ในหมวดของ ผลไม้และ การนับตัวเลข

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4 ( 8 กรกฎาคม 2553)

เรียนอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนๆทุกๆคน ในวันนี้อาจารย์ได้สอนต่อจากเมื่อคราวที่แล้วในหัวข้อ ขั้นตอนในการใช้สื่อ ทำให้ดิฉันได้รู้ว่ามีทั้งหมด 5ขั้น คือ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอปกิจกรรมการเรียน ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏบัติ ขั้นสรุปบทเรียน ขั้นประเมินผู้เรียน และได้รู้ถึงกรวยประสบการณ์ทั้ง 11 กลุ่ม ดิฉันจะยกตัวอย่างมา 4 ข้อ คือ ประสบการณ์ตรงนั้นเด็กต้องลงมือทำเอง ประสบการณ์ลองคือสิ่งของจำลอง ประสบการณ์นาฏศิลป์คือเด็กได้แสดงละคร การสาธิตคือให้เด็กได้สาธิตเอง และในห้องอาจารย์ได้สร้างประการณ์โดยการตะโกนเสียงดังเพื่อให้นักเรียนตกใจ และเมื่อเห็นอาจารย์ทำท่าทางอย่างเมื่อกี๊ จะได้ไม่ต้องตกใจอีกเพราะะเรามีประสบการณ์มาแล้ว และอาจารย์ได้ให้นักเรียนไปหาสื่อเพื่อมานำเสนอในห้องเรียนในคาบต่อไป.....

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3 (1 กรกฎาคม 2533)

เรียน อาจารย์ผู้สอนประจำวิชา และเพื่อนๆทุกคนนะค่ะ วันนี้อาจารย์ได้สอนถึงความหมายของสื่อการเรียนการสอนว่าหมายถึงอะไร และก็ทำให้ดิฉันได้รู้ว่า สิ่งที่อยู่รอบๆตัวของเรานั้นสามารถเป็นสื่อการเรียนการสอนทั้งสิ้น และก็สอนถึงคุณค่าของสื่อการเรียนการสอน ว่าสามารถส่งเสริมความคิดของเด็ก ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในห้องเรียน และวันนี้เป็นวันไหว้ครูอาจารย์รีบไปร่วมพิธีจึงขึ้นหัวข้อใหม่ไว้เรื่อง ขั้นตอนในการใช้สื่อ เพื่อที่จะเรียนต่อในอาทิตย์หน้าค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2(24 มิถุนายน 2553)

เรียนอาจารย์จินตนา สุขสำราญ ในวันนี้อาจารย์ได้ติดประชุมจึงเข้าสอนช้า แต่อาจารย์ได้สอนในเรื่องสื่อว่ามีความสำคัญอย่างไร และสื่อแบบไหนจึงจะเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย และยกตัวอย่างเรื่องของการขี่จักยานให้สอดคล้องกับการผลิตสื่อว่า ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั้น และดิฉันจะนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันค่ะ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 (17 มิถุนายน 2553)

เรียนอาจารย์ จินตนา สุขสำราญ และเพื่อนๆทุกคน วันนี้เป็นวันแรกที่เราได้เรียนกับอาจารย์จินตนา วันนี้อาจารย์ได้ปฐมนิเทศเรื่องการแต่งกายของนักศึกษาและได้บอกเกี่ยวกับการเรียนในรายวิชานี้ว่าต้องสร้าง Blogger เพื่อไว้สำหรับส่งงาน